15.30 น. ชมการตกแต่งบั้งไฟสวยงาม
18.00 น. ประกวดกองเชียร์
18.30 น. ประกวดธิดาบั่งไฟโก้ 2562
ชมต้นไฟตูมกา ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองยโสธร
09.30 น. พิธีเปิด
09.45 น. ขบวนมเหศักดิ์หลักเมือง
10.00 น. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม
13.30 น. การประกวดขบวนบั้งไฟโบราณจาก 9 อำเภอ
จุดบั้งไฟ ณ สวนสาธารณะพญาแถน จังหวัดยโสธร
มีกำหนดจัดขึ้นใน วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ณ สวนสาธารณะพญาแถนโดยแต่เดิมมีวัตถุประสงค ์เพื่อมุ่งแสดงออกถึงความสามัคคีของหมู่คณะ และมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้วเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จะดลบันดาลให้มีฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์บั้งไฟแต่ละอันที่มาเข้าขบวนแห่ จะถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง เล่ากันว่าศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้ นายช่างจะต้องสับและตัดลวดลายต่างๆ นี้ไว้เป็นเวลาแรมเดือน แล้วจึงนำมาทากาวติดกับลูกบั้งไฟ ส่วนหัวบั้งไฟนั้นจะทำเป็นรูปต่างๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปหัวพญานาคอ้าปากแลบลิ้นพ่นน้ำได้ บ้างก็ทำเป็นรูปอื่น ๆ
แต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานในการขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟนั้นจะนำมาตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณีบั้งไฟ ที่จัดทำมีหลายชนิด คือ มีทั้งบั้งไฟกิโล บั้งไฟหมื่น และบั้งไฟแสน บั้งไฟกิโลนั้นหมายถึง น้ำหนักของดินประสิว 1 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่นก็ใช้ดินประสิว 12 กิโลกรัม บั้งไฟแสนก็ใช้ดินประสิว 120 กิโลกรัมเมื่อตกลงกันว่าจะทำบั้งไฟขนาดไหนก็หาช่างมาทำ หรือที่มีฝีมือก็ทำกันเอง ช่างที่ทำบั้งไฟนั้นสำคัญมาก ช่างจะต้องเป็นผู้มีฝีมือในการคำนวณผสมดินประสิวกับถ่านไม้ เพราะถ้าไม่ถูกสูตรบั้งไฟก็จะแตก คือไม่ขึ้นสู่ท้องฟ้า สำหรับไม้ที่จะทำเป็นเสาบั้งไฟนั้น ต้องมีไม้ไผ่ที่มีลำปล้องตรงกันเสมอกัน จะตัดเอาแต่ที่โคนต้น เพราะมีความหนาและเหนียว ความยาวนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน
ในวันรุ่งขึ้นเป็นการจุดบั้งไฟ จะมีการแบกบั้งไฟไปยังฐานยิงในที่โล่ง ถ้าบั้งไฟของใครจุดแล้วยิงไม่ขึ้น คนทำจะถูกจับโยนลงในโคลน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา
ความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก พญาคางคกได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้งพญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มาก จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์ และพืชจนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่แข็งแรงก็จะรอดตาย และได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ที่ประชุมได้ตกลงกันให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็พ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอยหมดกำลังใจ และสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย ในที่สุดพญาคางคกขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยให้ปลวกทั้งหลายก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสัตว์ ซึ่งมีมอด แมงป่อง และตะขาบ ได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถน สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุกชนิด ส่วนแมงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พลพญาแถน ทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อยกองทัพของพญาคางคกก็เดินทางออกรบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนเจ็บปวดร้องระงมจนกองทัพระส่ำระส่าย ในที่สุดพญาแถนยอมแพ้ และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้
- 1. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์
- 2. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว
- 3. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูควายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตกเพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว
หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไป และได้ปฏิบัติตามสัญญาจนบัดนี้ การจุดบั้งไฟให้ขึ้นไปบนท้องฟ้า เพื่อเป็นการแสดงคารวะ กับเป็นสัญญาแจ้งให้เทพารักษ์ได้ทราบว่าใกล้จะถึงฤดูทำไร่ไถนากันแล้ว ขอได้โปรดเมตตาช่วยบันดาลให้ฝนตกมายังภาคพื้นดินด้วย ประกอบกับชาวพื้นเมืองทั่ว ๆ ไปในภาคอีสาน ได้ทำพิธีแห่บุญบั้งไฟขึ้นก็ในราวเดือน 6 ซึ่งเป็นเดือนราษฎร์ และตรงกับเดือนหลวงก็คือเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปี